OT จ่ายเป็น “วันหยุด” แทนได้ไหมนะ?

2024.10.18

เคยสงสัยกันไหมว่าเวลาทำ OT (Overtime) นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายเป็นเงินอย่างเดียวเลยรึเปล่า? หรือถ้าเขาให้เป็นวันหยุดเพิ่มแทนแบบนี้จะผิดไหม? 🤔 

หลายคนอาจเคยเจอโมเมนต์แบบนี้—ทำงานเกินเวลา หรือโดนเรียกมาทำงานวันหยุด แล้วเจ้านายบอกว่า “เอาเวลานี้ไปหยุดวันอื่นแทนก็ได้นะ” หลายคนก็อาจคิดว่า เออ เอาตามที่เจ้านายบอกก็ได้ ไม่ได้ติดอะไรอยู่แล้ว ชิลๆ แต่รู้ไหมว่า… ตามกฎหมายแรงงานไทย OT ต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น! 💸 ไม่สามารถจ่ายเป็นข้าวฟรี วันหยุดชดเชย หรือรางวัลอื่นๆ ได้ 

  

วิธีคำนวณ OT ของ “ลูกจ้างประจำ” ในวันทำงานปกติ 

อัตราค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ในวันปกติ จะคิดเป็น 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงในวันปกติ  

ตัวอย่าง: A ได้รับเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน และมีทำ OT เพิ่มอีก 2 ชั่วโมง 

ค่า OT   = 1.5 เท่า × ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงของเงินเดือนปกติ × จำนวนชั่วโมงที่ทำ OT 

              = 1.5 เท่า × [(30,000 บาท  ÷  30 วัน) ÷ 8 ชม.] × 2 ชม. 

              = 1.5 เท่า × 125 บาทต่อชั่วโมง × 2 ชม. 

              = 375 บาท  

ดังนั้น A จะได้ค่าทำ OT เป็นเงิน 375 บาท เพิ่มเติมจาก 30,000 บาทที่เป็นเงินเดือนปกติ 

วิธีคำนวณค่าจ้างของ “ลูกจ้างประจำ” ในวันหยุด 

อัตราค่าจ้าง จะคิดเป็น 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงในวันปกติ 

ตัวอย่าง: A ได้รับเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน โดยวันทำงานปกติจะเป็นวันจันทร์ – ศุกร์ แต่นายจ้างขอให้มาทำงานในวันเสาร์เพิ่มเติมอีก 4 ชั่วโมง 

ค่าจ้างในวันหยุด      = 1 เท่า × ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงของเงินเดือนปกติ × จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน 

                                 = 1 เท่า × [(30,000 บาท  ÷  30 วัน) ÷ 8 ชม.] × 4 ชม. 

                                 = 1 เท่า × 125 บาทต่อชั่วโมง × 4 ชม. 

                                 = 500 บาท  

ดังนั้น A จะได้ค่าจ้างจากการทำงานวันเสาร์ 4 ชั่วโมงเป็นเงิน 500 บาท 

วิธีคำนวณ OT ของ “ลูกจ้างประจำ” ในวันหยุด 

หากทำงานเกิน 8 ชั่วโมง จะถูกนับเป็น OT 

อัตราค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ในวันหยุด จะคิดเป็น 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงในวันปกติ 

ตัวอย่าง: A ได้รับเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน โดยวันทำงานปกติจะเป็นวันจันทร์ – ศุกร์ แต่นายจ้างขอให้มาทำงานในวันเสาร์เพิ่มเติมอีกหนึ่งวัน และมีการทำ OT เพิ่มในวันนั้นอีก 3 ชั่วโมง 

ค่า OT   = 3 เท่า × ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงของเงินเดือนปกติ × จำนวนชั่วโมงที่ทำ OT 

              = 3 เท่า × [(30,000 บาท  ÷  30 วัน) ÷ 8 ชม.] × 3 ชม. 

              = 3 เท่า × 125 บาทต่อชั่วโมง × 3 ชม. 

              = 1,125 บาท 

ดังนั้น A จะได้ค่าทำ OT เป็นเงิน 1,125 บาท เพิ่มเติมจากค่าจ้างเฉลี่ยรายวันของเงินเดือนปกติ 

ดังนั้น ถ้ามี OT เมื่อไหร่ อย่าลืมทวงสิทธิของตัวเองอย่างมั่นใจ! เพราะถึงเราจะทำงานเก่งแค่ไหน แต่ค่าขนมก็ต้องมาก่อนนะ 😆 

หากไม่อยากพลาดคอนเทนต์ดีๆเกี่ยวกับเรื่องงานและงานอัพเดตใหม่ๆก่อนใคร อย่าลืมกดติดตามเพจเฟซบุ๊กของเราhttps://www.facebook.com/pasona.thailand/ และเว็บไซต์ https://pasona.co.th/ 

……………………………………………………… 

สามารถฝากเรซูเม่ในระบบของ PASONA โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ 

>>> https://pasona.co.th/register/ <<< 

……………………………………………………… 

หางานที่ใช่ ได้งานที่ชอบ ต่อยอดความฝัน ไปให้ถึงเป้าหมาย กับ PASONA 

Contact: Career Consultant 

Phone: 02-108-1250 

Email: info@pasona.co.th 

#หางาน #สมัครงาน #หางานกทม. #หางานชลบุรี #หางานระยอง #หางานปทุมธานี #หางานสมุทรปราการ #หางานทำ #หางานบริษัทญี่ปุ่น #ฝากประวัติ #ค้นหางาน #PASONA #เกร็ดความรู้ #คำนวณOT #OT #Overtime #วิธีคิดOT #วิธีคำนวณOT #รู้ไว้ใช่ว่า #ครบเครื่องเรื่องงาน #PasonaThailand #PasonaJapan #PasonaGroup #PasonaTH #PRTH #HR