10 เทคนิค รักษาพนักงานคนเก่งในองค์กรของคุณไม่ให้หลุดมือไป

เทคนิครักษาพนักงานคนเก่ง
2024.08.09

ในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ว่าจะเป็นช่วงโรคระบาด เช่น โควิด ช่วงประเมินผลการทำงานของพนักงานในองค์กร หรือแม้กระทั่งช่วงที่โบนัสประจำปีกำลังจะออก ก็มีพนักงานจำนวนหนึ่งที่กำลังตัดสินใจจะโยกย้ายงานไปบริษัทอื่น หรือเรียกง่ายๆว่า ลาออกไปนั่นเอง  

แต่การลาออกของพนักงานนั้นย่อมไม่ส่งผลดีนักต่อองค์กรโดยเฉพาะหากเป็นพนักงานที่มีความสามารถและเป็นแกนหลักสำคัญของทีม 

ดังนั้นแผนกทรัพยากรบุคคลและระดับผู้บริหารควรใช้ความพยายามทุกวิถีทางในการบริหารจัดการลูกทีมและพนักงานให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพควบคู่กับการมีความสุขในการทำงานไปด้วย เพราะพนักงานแต่ละคนทราบดีว่า จะต้องทำงานแต่ละงานอย่างไร ทราบดีว่า บริษัทเป็นอย่างไร และที่สำคัญที่สุดก็คือ รู้จักพนักงานแต่ละคนในทีมเป็นอย่างดี 

ตามผลการสำรวจพบว่าการจ้างพนักงานใหม่มาแทนที่คนเดิมที่ลาออกไป ทำให้เกิดต้นทุนหากคิดเป็นเม็ดเงินจะอยู่ที่ 33% ของรายได้ประจำปีของพนักงานที่ลาออกไป และแน่นอนว่า หากมีการรายงานผลอัตราการลาออกของพนักงานต่อผู้บริหารระดับสูง ย่อมไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่ายอย่างแน่นอน 

 

วันนี้เราจึงขอแนะนำ 10 วิธีที่จะช่วยรักษาเอาไว้ให้อยู่กับองค์กรให้ได้นานที่สุด 

 

ดูแลและใส่ใจพนักงานให้ดีเหมือนวันแรกที่รับเข้ามาทำงาน

การรับพนักงานเข้ามาวันแรกๆมักจะได้รับความใส่ใจและการดูแลจากผู้ใหญ่เสมอ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปเราจะต้องทำให้แน่ใจว่าพนักงานมีแรงบันดาลใจ และมีกำลังใจที่ดีอยู่เสอไม่ต่างจากวันแรก โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการทดลองงาน หรือ ช่วง 2-3 เดือนแรกที่มักจะมีปัญหาอยู่เสมอ 

 

มีการให้สวัสดิการที่เพียงพอกับความต้องการของพนักงาน 

สวัสดิการที่ดีถือเป็นสิ่งสำคัญรองจากเงินเดือนที่พนักงานคาดหวังจะได้รับจากทางบริษัท แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ พนักงานแต่ละคนก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน สวัสดิการฟิตเนสก็คงไม่เหมาะกับพนักงานที่ไม่ชอบออกกำลังกายเสมอไป ดังนั้นการมอบสวัสดิการให้กับพนักงานที่มีความแตกต่างกันโดยเฉพาะช่วงวัย จึงควรพิจารณาให้ลึกถึงความต้องการที่แท้จริงให้ได้มากที่สุด 

 

ให้โอกาสพนักงานในการเลือกตารางทำงานได้อย่างยืดหยุ่น 

จะแน่ใจได้อย่างไรว่า พนักงานของบริษัททุกคนต้องการทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็นเป็นเวลา 5 วันตลอดสัปดาห์ หากองค์กรมีการสื่อสารกับพนักงานในเชิงลึกและให้ตารางงานที่สามารถปรับได้อย่างยืดหยุ่น บริษัทอาจจะได้พนักงานที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และรู้สึกพึงพอใจกับงานมายิ่งขึ้น เมื่อพวกเขาสามารถบริหารจัดการเวลางานและเวลาส่วนตัวได้ดีมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้  

 

แสดงออกให้เห็นว่าบริษัทรับรู้ในการทำงานหนักของพนักงาน 

พนักงานทุกคนอยากให้ผู้บังคับบัญชาได้รับรู้ ชื่นชม และ ขอบคุณการทำงานของตนอยู่เสมอ ดังนั้นการแสดงออกให้เห็นว่าพนักงานทำงานได้ดีจะช่วยเพิ่มกำลังใจและเพิ่มความรู้สึกผูกพันกับองค์กรได้มากยิ่งขึ้น 

 

มอบโอกาสในการพัฒนาง 

การก้าวไปสู่ระดับมืออาชีพเป็นเรื่องที่สำคัญสูงสุด พนักงานที่ทำงานเก่งและมีพรสวรรค์ในการปฏิบัติงานนั้น มักจะไม่หยุดพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นงานเดิมๆที่ไมได้ทำให้พนักงานมืออาชีพเหล่านั้นพัฒนาตัวเองได้ก็จะไม่ได้รับความสนใจ และพลอยจะทำให้หมดแรงใจในการทำงานลงไป ดังนั้นการสร้างความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนเก่งๆมีความสามารถอยู่กับองค์กรได้นาน อาทิ การจับคู่พนักงานระดับผู้เชี่ยวชาญ กับ พนักงานที่มีผลงานดี ก็สามารถช่วยในการเรียนรู้ของพนักงานได้ 

 

แสดงให้เห็นถึงผลกระทบในวงกว้างที่งานของพนักงานแต่ละคนมีต่อบริษัทในภาพรวม

หากพนักงานไม่รับรู้ว่างานที่ตนเองทำอยู่ มีผลต่อคนอื่นๆและองค์กรในภาพรวมอย่างไร ก็จะไม่รู้สึกผูกพันและไม่รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญกับบริษัท  และนำไปสู่การมองหาที่ทางใหม่ๆที่ทำให้ตนเองมีจุดยืนในสังคมองค์กรที่อยู่ได้ ดังนั้นหากผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถอธิบายถึงกลไกการทำงานขององค์กรทั้งหมดให้กับพนักงานได้รับรู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีพนักงานแต่ละคนอยู่ ก็จะลดโอกาสในการลาออกของพนักงานได้ในระดับหนึ่ง
 

อัพเกรดอุปกรณ์และเครื่องมือให้กับพนักงาน 

สิ้งอำนวยความสะดวกต่างๆที่บริษัทมีให้กับพนักงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พนักงานรับรู้ถึงความใส่ใจและการอำนวยความสะดวกในการทำงานจากบริษัท พนักงานจะทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพได้อย่างไรหากอุปกรณ์ที่เขามี เป็นเพียงอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีระดับไม่สูงพอที่จะทำให้งานสำเร็จออกมาได้ นอกเหนือจากอุปกรณ์ล้าหลังจะทำให้งานไม่สมบูรณ์แล้วยังเป็นตัวบ่งบอกอีกได้ว่าองค์กรไม่สนใจและไม่ใส่ใจในการพัฒนาเครื่องมือให้ทันยุคทันสมัยพร้อมที่จะต่อสู่กับคู่แข่งได้  

 

การสื่อสารและพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ

การขาดการสื่อสารและพูดคุยกันเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้พนักงานรู้สึกไม่มั่นคง องค์กรควรมีการจัดสร้างช่องทางที่เปิดรับความคิดเห็น ความรู้สึก และข้อแนะนำจากพนักงาน ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถไว้ใจได้ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้พนักงานสื่อสารกันได้อย่างอิสระโดยไม่มีการเข้ามาขัดกลางที่อาจเพิ่มแรงกดดันในการทำงาน และนอกจากนั้นฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะต้องมั่นใจว่าระดับบริหารทุกระดับจะได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีในด้านการแนะนำ บริหาร สื่อสาร และสอนงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา 

 

มีการเลื่อนตำแหน่งให้กับพนักงานแทนที่จะจ้างคนนอกเข้ามาเพิ่ม

มันคงจะรู้สึกไม่ดีเท่าไหร่ หากพนักงานที่ตั้งใจทำงานและผลงานดี แต่ไม่ถูกเลื่อนตำแหน่งขึ้นมา ซ้ำร้ายหากพบว่ามีการจ้างงานระดับผู้บริหารคนนอกเข้ามาเพื่อดูแลเพิ่มเติม พนักงานคนในอาจจะมีความรู้สึกสงสัยเกี่ยวกับเส้นทางของอาชีพตัวเองที่ทำอยู่ และหากเป็นไปได้ การนำเสนอโปรแกรมและเงื่อนไขในการเลื่อนตำแหน่งที่ชัดเจนก็จะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นด้วย

 

สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ

ไม่มีใครที่อยากทำงานอย่างโดดเดี่ยว จากผลการวิจัยของฮาเวิร์ดได้เปิดเผยว่า ทีมที่มีผลการทำงานได้ดีเกิดจากผู้บริหารที่ลงทุนลงแรงสนับสนุนความสัมพันธ์ทางสังคม การเป็นตัวอย่างที่ดีในการร่วมมือกันระหว่างคนในทีมและนอกทีม 

……………………………………………………… 

หากทีมงานหรือองค์กรของท่าน ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับอบรมและการพัฒนาความผูกพันของพนักงานในองค์กร สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับทางผู้เชี่ยวชาญของ PASONA ได้เลยครับ PASONA เราพร้อมที่จะให้บริการและสนับสนุนการทำงานของท่านเพื่อทำให้การทำงานในองค์กรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

……………………………………………………… 

FREE Registration : สามารถลงทะเบียนข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหางานและฝากใบสมัครโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ 

>>> https://pasona.co.th/registration-form/ <<< 

……………………………………………………… 

หางานที่ใช่ ได้งานที่ชอบ ต่อยอดความฝัน ไปให้ถึงเป้าหมาย กับ PASONA 

Contact: Career Consultant 

Phone: 02-108-1250 

Email: info@pasona.co.th 

#หางาน #สมัครงาน #หางานกทม. #หางานทำ #หางานบริษัทญี่ปุ่น #ฝากประวัติ #ค้นหางาน #PASONA #HR #HRThailand #HRD #HRM #HROD #HRBP #HRIS #พัฒนาบุคลากร #รักษาพนักงาน #พัฒนาองค์กร #ลดการลาออก #ลาออก #กลยุทธ์พัฒนาองค์กร #ความก้าวหน้า #ความสำเร็จ #วัฒนธรรมองค์กร #corporateculture #organizationalculture ⁣⁣#โครงสร้างบริษัท #เทรนนิ่ง #Training #HRrecruitment #สรรหาบุคลากร #หาคน #หาพนักงาน