ลาป่วย ต้องมีใบรับรองแพทย์ ไม่งั้นหักเงิน จริงหรอ?
แค่ป่วยเล็ก ๆ อยากพักผ่อนฟื้นฟูร่างกายให้เต็มที่ แต่ทำไมการลาป่วยถึงยากขนาดนี้? หลายคนอาจเคยเจอปัญหานี้ในที่ทำงาน เมื่อต้องการลาพักเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อสู่เพื่อนร่วมงาน กลับถูกขอใบรับรองแพทย์ หากไม่มี ก็เสี่ยงถูกหักเงิน เรื่องนี้ทำให้หลายคนเหนื่อยใจและคิดถึงการย้ายงาน
วันนี้ Pasona จะพาคุณมาไขข้อข้องใจว่า ตามกฎหมายแรงงาน เรื่องการลาป่วยจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร และพนักงานมีสิทธิ์แค่ไหน
ลาป่วย จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ไหม?
ในทางกฎหมายแรงงานไทย การลาป่วยไม่ได้บังคับให้ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ทุกครั้ง โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ลาป่วยและกฎเกณฑ์ของแต่ละบริษัท ดังนี้:
- การลาป่วยไม่เกิน 3 วัน – โดยทั่วไป พนักงานสามารถแจ้งลาป่วยได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ แต่ควรแจ้งผู้บังคับบัญชาให้ทราบล่วงหน้า
- การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป – กฎหมายระบุว่าในกรณีนี้พนักงานต้องแสดงใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยัน หากไม่มีใบรับรองแพทย์ นายจ้างอาจปฏิเสธการลาหรือไม่จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าว
ไม่ยื่นใบรับรองแพทย์จะโดยหักเงินไหม?
ในกรณีการลาป่วย ตามกฎหมายแรงงานไทย พนักงานไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ทุกครั้งที่ลาป่วย โดยเฉพาะเมื่อจำนวนวันที่ลาป่วยไม่เกิน 3 วัน และลูกจ้างสามารถลาป่วยได้ตามจำนวนวันที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างสูงสุด 30 วันทำงานต่อปี โดยไม่จำกัดระยะเวลาการทำงานและประเภทของลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายเดือน หรือทดลองงาน ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมตามกฎหมายแรงงาน
อย่าลืมติดตามเราเพื่อไม่พลาดสาระดี ๆ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานและสิทธิของพนักงาน ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจและพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ในที่ทำงาน! ได้ที่เพจเฟสบุ๊ซของเรา https://www.facebook.com/pasona.thailand/ และเว็บไซต์ https://pasona.co.th/
………………………………………………………
สามารถฝากเรซูเม่ในระบบของ PASONA โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่
>>> https://pasona.co.th/register/ <<<
………………………………………………………
หางานที่ใช่ ได้งานที่ชอบ ต่อยอดความฝัน ไปให้ถึงเป้าหมาย กับ PASONA
Contact: Career Consultant
Phone: 02-108-1250
Email: info@pasona.co.th
#หางาน #สมัครงาน #หางานกทม. #หางานชลบุรี #หางานระยอง #หางานปทุมธานี #หางานสมุทรปราการ #หางานทำ #หางานบริษัทญี่ปุ่น #ฝากประวัติ #ค้นหางาน #PASONA #เกร็ดความรู้ #HR #HRTHAILAND #ลาป่วย #กฎหมายแรงงาน #รู้ไว้ใช่ว่า #รอบรู้เรื่องงาน #รอบรู้เรื่องกฎหมายแรงงาน #ขั้นตอนการลาป่วย #AnnualLeave #BusinessLeave #SickLeave