7 สิ่งที่ควรทำหากบริษัทจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานอย่างกะทันหัน
admin-kanato HR Consulting, บทความทั้งหมด Outplacement, ทรัพยากรบุคคล, ทำงานในญี่ปุ่น, ทำงานในประเทศญี่ปุ่น, บริษัทญี่ปุ่น, บริหารองค์กร, เลิกจ้าง

[7 สิ่งที่ควรทำหากบริษัทจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานอย่างกะทันหัน ]
สำหรับนายจ้างโดยเฉพาะฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล การต้องแจ้งบอกเลิกจ้างพนักงานเป็นเรื่องที่น่าลำบากใจและหนักใจไม่น้อย ในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาโดยเฉพาะช่วงที่โควิด-19 เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลกไม่เฉพาะแค่ในประเทศไทย ซึ่งทำให้หลายบริษัทน้อยใหญ่มีความจำเป็นต้องปลดพนักงานเป็นจำนวนมากเพื่อตัดรายจ่ายบางส่วนออกและทำให้บริษัทสามารถคงอยู่ต่อไปได้ ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมามีแรงงานที่ถูกเลิกจ้างราวกว่า 7 ล้านคนทั่วประเทศ
และแน่นอนวาการเลิกจ้างเป็นกระบวนการที่สร้างความตึงเครียดให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตัวพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง ทำให้กระบวนการแจ้งการเลิกจ้างแทบจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่บริษัทจะเลือกทำกับพนักงานคนหนึ่ง ซึ่งหลายครั้งที่พนักงานเองไม่คิดว่าตัวเองจะโชคร้ายจนต้องตกงานในทันที เนื่องจากการเลิกจ้างมักไม่มีสัญญาณใด ๆ บ่งบอกล่วงหน้า เว้นแต่เกิดขึ้นเพราะประสิทธิภาพการทำงานที่ย่ำแย่ของตัวพนักงานเอง
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูแลเรื่องทรัพยากรบุคคล ไมว่าจะในฐานะหัวหน้าฝ่าย HR หรือเจ้าหน้าที่ HR ที่ต้องสื่อสารเรื่องสำคัญกับพนักงาน โดยเฉพาะการแจ้งเรื่องเลิกจ้างพนักงานที่เต็มไปด้วยบรรยากาศน่าอึดอัด หลายครั้งการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพก็สร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นได้ แต่หากถึงบทสุทด้ายแล้วจะต้องบอกเลิกจ้างจริงๆ เราก็ขอแนะนำ 7 สิ่งที่ ควรทำ เมื่อต้องบอกเลิกจ้างพนักงาน เพื่อทำให้ทุกอย่างจบลงด้วยดีและปกป้องดูแลจิตใจผู้ถูกเลิกจ้างอย่างดีที่สุด
- ใช้วิธีแจ้งการเลิกจ้างแบบตัวต่อตัว
การแจ้งการเลิกจ้างเป็นกระบวนการที่กระทบกระเทือนจิตใจพนักงานมาก ยิ่งปัจจุบันหลายองค์กรเลือกทำงานแบบ Work from Home ทำให้การเจอหน้ากันเป็นเรื่องยาก แต่อย่างไรก็ตามการบอกเลิกจ้างงานก็ไม่ควรกระทำผ่านออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ อีเมล โทรศัพท์หรือแม้กระทั่งการเปิดหน้าจอเว็บแคมออนไลน์ เช่น Zoom หรือ Google Meet
หนทางที่แนะนำให้ทำคือการแจ้งให้ทราบผ่านการประชุมที่สามารถเจอหน้ากันได้แบบตัวต่อตัว นอกจากจะเป็นการให้เกียรติพนักงานแล้วยังเป็นมารยาทที่ดีในการทำงาน เพราะในกรณีที่พนักงานเข้าใจสถานการณ์ก็จะจากลากันด้วยความยินดี แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็สามารถประเมินสถานการณ์ได้ว่า พนักงานรู้สึกอย่างไร เช่น ผิดหวัง เสียใจ ไม่ไว้วางใจ หรือเลวร้ายสุดคือรู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนการถูกทิ้งขว้าง การได้พบกันแบบเจอหน้ากัน สามารช่วยบรรเทาความรู้สึกเหล่านั้นลงได้ และมีช่วงเวลาในการพูดคุยอธิบายรวมทั้งปลอบใจจนกว่าจะสามารถปรับอารมณ์กันต่อไปได้
- มีการแจ้งล่วงหน้า ไม่แจ้งกะทันหันจนเกินไป
การแจ้งการเลิกจ้างและให้ออกทันทีเป็นสิ่งที่ทำได้หากพนักงานกระทำความผิดร้ายแรง แต่การบอกเลิกจ้างแบบทันทีในกรณีไม่ร้ายแรง อาจสร้างความเสียใจและตกใจให้กับพนักงานได้เป็นอย่างมาก องค์กรควรมีแผนเบื้องต้นรองรับก่อนการแจ้งการเลิกจ้าง เช่น การส่งใบเตือน การเข้าฝึกอบรม หรือการใช้แผนการปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน (PIP) ซึ่งหากประสิทธิภาพการทำงานยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง การตัดสินใจเลิกจ้างก็อาจเป็นทางออกสุดท้ายในการแก้ปัญหา
วิธีการเหล่านี้เป็นการให้โอกาสพนักงานได้ปรับปรุงตัวเอง พัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทในการถูกฟ้องร้องกลับกรณีถูกเลิกจ้างทันที ทว่าต้องแลกกลับกระบวนการทำงานที่มากขึ้น เช่น การประเมินผลงานพนักงานทุก ๆ สัปดาห์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งก็ยังดีกว่า การบอกเลิกจ้างโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า
- พูดคุยโดยมีพยานในการบอกเลิกจ้าง
ถึงแม้การตัดสินใจเลิกจ้างจะเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และควรเกิดขึ้นในสถานที่ปิด แต่แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือมีพยานในการประชุมเลิกจ้างด้วย
หากคุณผู้เป็นหัวหน้าฝ่ายที่ต้องแจ้งเรื่องการเลิกจ้างให้กับพนักงานในทีม โดยปกติแล้วพยานมักจะเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือถ้าคุณเป็น HR ก็ควรมีพยานที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่มีประสบการณ์หรือวุฒิภาวะสูงในการแจ้งเลิกจ้างคน ซึ่งจะช่วยอภิปรายกระบวนการต่าง ๆ ผลประโยชน์ หรือสิ่งที่พนักงานควรทำต่อไปหลังเลิกจ้างได้อย่างครบถ้วน แถมฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถมั่นใจได้ว่า พนักงานจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและความเป็นมืออาชีพจากนายจ้างได้อีกด้วย
- สื่อสารด้วยความชัดเจนและไม่คลุมเครือ
การแจ้งเรื่องการเลิกจ้างพนักงานควรแจ้งอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน เพราะส่วนใหญ่หากพนักงานถูกแจ้งเลิกจ้างในทันที มักจะไม่เชื่อว่าตัวเองจะถูกเลิกจ้าง และไม่คิดว่าตัวเองสมควรถูกไล่ออก ฉะนั้นอย่าสร้างบรรยายกาศคลุมเครือให้เกิดขึ้น
ก่อนจบการประชุม บทสนทนาต้องครบถ้วนและหนักแน่น มีการพูดเรื่องการเลิกจ้างอย่างชัดเจนและมีเหตุผลที่ครอบคลุม หนักแน่น ประกอบกับพูดคุยด้วยความใส่ใจ ความเห็นใจและเคารพพนักงานอย่างตรงไปตรงมา ว่าองค์กรได้ตัดสินใจเลิกการจ้างงานเป็นที่เรียบร้อย มากกว่าการหลอกพนักงานให้เชื่อว่าตนสามารถปรับปรุงตัวเองเพื่อให้ไม่ถูกเลิกจ้างได้
- จำกัดหรือยกเลิกความสามารถในการเข้าถึงทรัพย์สินและระบบข้อมูลของบริษัท
เมื่อแจ้งการเลิกจ้างพนักงานเป็นที่เรียบร้อย ควรให้พนักงานส่งมอบกุญแจ บัตรผ่านประตู ป้าย สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์หรือสิ่งของอื่น ๆ ของบริษัทโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลานี้หลายองค์กรมีการทำงานแบบ Work from Home ทรัพย์สินของบริษัทบางชิ้น เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะอยู่ที่บ้านของพนักงาน จึงควรนัดแนะอย่างเป็นทางการเพื่อส่งคืนอุปกรณ์ทั้งหมด
นอกจากนี้ควรประสานงานกับฝ่าย IT ในทันทีเพื่อจำกัดการเข้าถึงข้อมูลสำคัญของบริษัท อาทิฐานข้อมูลลูกค้า หรือ เอกสารสำคัญต่างๆ จำกัดการเข้าถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงาน เช่น อีเมล คลังข้อมูลดิจิทัล เครือข่ายภายใน และอื่น ๆ ซึ่งระหว่างการประชุมการเลิกจ้างหรือก่อนหน้าเล็กน้อย ต้องร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ IT เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานที่ถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อีก เพื่อป้องกันการก่อวินาศกรรมและขโมยข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์หากพนักงานที่ถูกเลิกจ้างรู้สึกเชิงลบหลังจากการถูกเลิกจ้าง
แต่อย่างไรก็ตามพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง จะยังสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานในช่องทางอื่นได้ตามปกติ เช่น โซเชียลมีเดีย ซึ่งจะสะท้อนกลับมาถึงทัศนคติที่เราสามารถนำมาปรับใช้เป็น Digital Footprint ต่อไปในอนาคต
- จบการประชุมด้วยบรรยากาศเชิงบวก
เป้าหมายของการประชุมเลิกจ้างไม่ใช่เพื่อการดูถูก ทำร้ายจิตใจ หรือทำลายความภาคภูมิใจของพนักงาน ดังนั้นพยายามจบการประชุมด้วยความรู้สึกเชิงบวก ไม่ว่าสาเหตุที่พนักงานถูกเลิกจ้างร้ายแรงเพียงใด ก็ควรส่งเสริมให้ตัวพนักงานเชื่อมั่นในตัวเองและคาดหวังอนาคตในชีวิตที่ดีกว่าเดิม เช่น การแจ้งถึงโอกาสในการหางานใหม่ที่เหมาะสมกับทักษะรวมทั้ง จุดแข็ง จุดอ่อน หรือให้กำลังใจว่า “เรามั่นใจว่าคุณจะหางานที่เหมาะกับคุณ”และแสดงความเห็นอกเห็นใจรวมทั้งกำลังใจที่บริษัทสามารถให้ได้
- หางานทดแทนและสนับสนุนการเตรียมตัวหลังจากถูกเลิกจ้างให้กับพนักงาน
หลายๆบริษัทมักจะจบการดูแลพนักงานที่ถูกเลิกจ้างด้วยการจ่ายเงิน”ค่าตกใจ”แล้วแยกย้ายกันไป แต่ก็มีบริษัทที่ให้ความใส่ใจและมอบการดูแลให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถเลือกหางานที่ใช่รวมทั้งสายอาชีพที่เหมาะสมในอนาคตต่อไปได้ รวมทั้งแสดงความรับผิดชอบและสร้างความประทับใจให้กับพนักงานที่จะส่งผลถึงภาพลักษณ์ด้านดีของบริษัทอีกด้วย
การเลิกจ้างนั้นไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง หากได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ถูกเลิกจ้างและสนับสนุนงานให้กับบริษัทที่ต้องการเลิกจ้างพนักงานได้อย่างรอบด้าน ก็จะทำให้กระบวนการต่างๆเกิดประสิทธิภาพรวมทั้งเกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย
ที่ PASONA เรามีกระบวนการบริการที่รอบด้านเพื่อให้การเลิกจ้างนั้นเป็นไปด้วยความราบรื่น (Outplacement Services) อาทิ
- ให้คำปรึกษาในการหางานทดแทน
- การฝึกอบรมผู้จัดการและผู้ที่ดูแลพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง (เพื่อให้ผู้จัดการสามารถส่งข่าวการเลิกจ้างให้กับพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพ)
- การให้คำปรึกษาในวันแจ้งข่าวการเลิกจ้างแก่พนักงาน (เพื่อให้รู้สึกอุ่นใจที่มีผู้คอยให้คำแนะนำและสนับสนุนในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด)
- การฝึกสอนแบบรายบุคคล ตั้งแต่การ ค้นหาตัวตน , การทำเรซูเม่ และการนำเสนอตนเอง , การหางาน และการสมัครงาน และ การเตรียมการสัมภาษณ์งาน เป็นต้น
รวมทั้งเตรียมแผนการณ์และขั้นตอนเพื่อเดินหน้าพาบุคลากรที่คงอยู่ผ่านเส้นทางการเปลี่ยนแปลงและทำความเข้าใจสถานการณ์จากมุมมองธุรกิจ รวมทั้งสามารถพัฒนากลยุทธ์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เป็นอย่างดี
การเลิกจ้างพนักงาน เป็นประสบการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจซักเท่าไหร่ แต่เราสามารถสร้างบรรยากาศให้ไม่ตึงเครียดได้ผ่านประสิทธิภาพในการสื่อสารและเตรียมการต่างๆเพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตได้อย่างต่อเนื่องของพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง
หากทีมงานหรือองค์กรของท่าน สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการให้คำปรึกษาในการหางานใหม่ และ การเตรียมการสำหรับทั้งตัวพนักงานและบริษัท (OUTPLACEMENT SERVICES ก็สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับทางผู้เชี่ยวชาญของ PASONA ได้เลยเช่นกันครับ PASONA เราพร้อมที่จะให้บริการและสนับสนุนการทำงานของท่านเพื่อทำให้ทุกกระบวนการทำงานในองค์กรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ PASONA Consulting โทร 02-108-1250 หรือ อีเมล info@pasona.co.th ได้เลยครับ
………………………………………………………
สามารถติดตามข่าวสาร ตำแหน่งงานจากบริษัทญี่ปุ่นทั่วประเทศ และงานอบรมออนไลน์ได้ในเฟสบุ๊ค PASONA ที่นี่ได้เลย
FREE Registration : สามารถลงทะเบียนข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหางานและฝากใบสมัครโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่
>>> https://pasona.co.th/registration-form/ <<<
………………………………………………………
หางานที่ใช่ ได้งานที่ชอบ ต่อยอดความฝัน ไปให้ถึงเป้าหมาย กับ PASONA
☎️ Contact: Career Consultant
Phone: 02-108-1250
Email: info@pasona.co.th
หางาน หาคน หาคอร์สอบรม และ บริการต่างๆที่ช่วยพัฒนาองค์กร ได้ที่ PASONA
บทความที่เกี่ยวข้อง

“ความโปร่งใสของเงินเดือน”ปัจจัยที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการทำงาน
“การจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกับงานที่ให้”—เงื่อนไขง่ายๆที่รู้กันอยู่แล้วในโลกของการทำงาน

“คุณคิดว่าในอีก 10 ปีคุณจะเป็นอย่างไร”อีกหนึ่งคำถามที่มักถูกถามในการสัมภาษณ์งาน
ในการเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน สิ่งสำคัญก็คือการเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่มักถูกถามในห้องสัมภาษณ์ คำถามหนึ่งที่เห็นได้บ่อยครั้งก็คือ “คุณคิดว่าในอีก 10 ปีคุณจะเป็นอย่างไร”

ตอบอย่างไรให้ดูดี กับคำถามสัมภาษณ์”เงินเดือนที่คุณคาดหวัง”
เพื่อหางานที่มีลักษณะและเงินเดือนที่เหมาะสมกับความต้องการ การต่อรองเงินเดือนมักไม่ได้เกิดขึ้นในขั้นตอนที่บริษัทตัดสินใจจ้างงาน มักเกิดขึ้นในหลายๆขั้นตอนก่อนหน้านั้น
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเรา
Thailand Head Quarter
26th Floor, Sathorn Square
Office Tower,
98 North Sathorn Road, Silom,
Bangrak, Bangkok 10500, Thailand
TEL: +662-108-1250
E-mail: info@pasona.co.th
เตรียมตัวสัมภาษณ์อย่างไร ให้ได้งาน
การสมัครงานทุกวันนี้ มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ด้วยความทันสมัย และเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เราสามารถสมัครงานผ่านเว็บไซต์ได้ หรือส่งประวัติผ่านอีเมลล์ได้ แต่ขั้นตอนสำคัญที่สุดในการที่เราจะได้ร่วมงานกับบริษัทที่เราใฝ่ฝัน ก็คือ การสัมภาษณ์งาน ซึ่งเราจะได้มีโอกาสเข้ามาดูบรรยากาศการทำงาน สถานที่ทำงาน รวมถึงได้พบกับบุคคลากรของบริษัทนั้นๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่เราจะได้แสดงตัวตนของเรา และสร้างความประทับใจให้กับบริษัทได้โดยตรง
เพราะฉะนั้น การเตรียมความพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งาน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก นอกจากเรื่องบุคลิกภาพ การแต่งกายที่เราได้พูดถึงในบทความก่อนหน้านี้แล้ว (สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ : https://pasona.co.th/b/1144)
การเตรียมพร้อมสำหรับคำถาม รวมถึงข้อมูลบริษัทก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน หรืออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะเป็นวัดทัศนคติ และความเหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานนั้นๆอย่างแท้จริง แน่นอนว่าเราไม่สามารถคาดเดาสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะถามกับเราได้ แต่เราสามารถเตรียมตัวสำหรับแนวคำถามต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับตัวเองได้ ถ้าอย่างนั้นเรามาเตรียมความพร้อมกันดีกว่าค่ะว่าคำถามที่มักจะเจอในการสัมภาษณ์งานมีอะไรบ้าง ซึ่งแนวคำถามต่างๆที่พบเจอได้บ่อยครั้งในการสัมภาษณ์ จะขอยกตัวอย่างจากเว็บไซต์หางานชื่อดัง JobsDB.com
คำถาม : เล่าเรื่องคุณให้เราฟังหน่อย
แนวทางการตอบ : คำถามนี้แม้จะเหมือนกับทางบริษัทอยากรู้จักคุณเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่ควรเล่าเรื่องส่วนตัว เช่น คุณเป็นคนอย่างไร ชอบอะไรหรือมีงานอดิเรกอะไร ควรเน้นเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของคุณ เรียนจบอะไรมา มีประสบการณ์การทำงานอะไรมาบ้าง และเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นผู้สมัครที่ดีที่สุดของงานนี้ โดยในแต่ละเรื่องที่คุณเล่าควรมีเหตุการณ์หรือมีการยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย
คำถาม : ทำไมเราควรจ้างคุณ
แนวทางการตอบ : คุณสามารถตอบได้ว่าคุณเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้โดยให้เหตุผลที่เหมาะสมเพิ่มเติม ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องรู้เพื่อจะตอบคำถามนี้ให้ได้ดีคือ รายละเอียดของตำแหน่งงานและบริษัทที่คุณสมัคร และสิ่งที่คุณจะสามารถให้กับองค์กรได้ ความรู้ความสามารถใดที่มีแต่อาจจะยังไม่เกี่ยวกับตำแหน่งนี้โดยตรงก็สามารถยกขึ้นมาพูดได้หากคุณเล็งเห็นว่ามันจะมีประโยชน์กับองค์กรได้ในอนาคต
คำถาม : ทำไมคุณจึงสนใจงานนี้/ ทำไมคุณจึงลาออกจากที่ทำงานเก่า
แนวทางการตอบ : สำหรับสองคำถามนี้ให้ตอบโดยเน้นไปที่ตัวงาน ไม่ใช่เงินเดือน สวัสดิการที่ดีกว่า เช่น สนใจงานนี้เพราะมีความท้าทายในตัวงานที่คุณคิดว่าคุณสามารถทำได้จากคุณสมบัติที่คุณมี โดยยกเหตุผลและตัวอย่างด้วย เช่นเดียวกับคำถามเรื่องการลาออกจากที่เก่าก็สามารถตอบได้ในทำนองเดียวกัน โดยควรหลีกเลี่ยงการพูดถึงปัญหาความสัมพันธ์กับเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานหรืออะไรก็ตามที่เป็นการพูดในแง่ไม่ดีถึงบริษัทเก่าของคุณ
คำถาม : ข้อด้อยของคุณคืออะไร
แนวทางการตอบ : หลายคนเลือกตอบคำถามนี้ด้วยการพยายามทำให้ข้อด้อยกลายเป็นข้อดีขึ้นมาเพราะไม่อยากพูดถึงข้อเสียของตัวเอง เช่น เป็นคนให้ความสำคัญกับงานมากจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น อาจจะดูเหมือนเป็นคำตอบที่ดีแต่ก็แฝงไปด้วยความหมายว่าคุณบริหารจัดการเวลาไม่ค่อยเป็น ในความเป็นจริงแล้วคุณสามารถพูดถึงข้อด้อยของตัวเองได้อย่างตรงไปตรงมาแต่ควรเป็นสิ่งที่คุณได้พยายามแก้ไขจนดีขึ้นแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เคยเป็นคนบริหารจัดการเวลาไม่ค่อยเป็นทำให้ไม่ค่อยมีเวลาให้ชีวิตส่วนตัว ภายหลังจึงเลือกใช้วิธีจัดลำดับความสำคัญของงาน จัดทำ to do list หรือใช้ application มือถือช่วยจัดตารางการทำงานเป็นต้น
คำถาม : เป้าหมายระยะยาวของคุณคืออะไร
แนวทางการตอบ : บางครั้งอาจจะเป็นคำถามว่าคุณเห็นตัวเองเป็นอย่างไรใน 5 ปีต่อจากนี้ คุณสามารถตอบได้ตามความฝันของคุณ เช่นอยากนั่งตำแหน่งหัวหน้างานหรือผู้จัดการแผนก แต่ก็ควรพิจารณาเลือกเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้ตามกรอบเวลานั้น และควรยกตัวอย่างประกอบด้วยว่าคุณวางแผนอย่างไรที่จะไปถึงเป้าหมาย คุณจะพัฒนาความสามารถอย่างไรให้เหมาะสมกับตำแหน่งนั้น ความท้าทายและอุปสรรคในการเดินไปถึงจุดหมายคืออะไรและคุณคิดว่าจะจัดการกับมันอย่างไร
จะเห็นได้ว่าการตอบคำถามในการสัมภาษณ์งานนั้นคุณไม่จำเป็นต้องคิดคำตอบให้สวยหรูดูดีเสมอไป การตอบตามความเป็นจริงนั้นดีที่สุด เพราะเป็นประสบการณ์ตรงในชีวิตที่ไม่ต้องอาศัยการท่องจำจนขาดความเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้การพูดถึงสิ่งใดก็ตามควรมีหลักฐานหรือตัวอย่างสนับสนุนคำพูดของคุณเสมอ การซ้อมตอบคำถามเหล่านี้หลายครั้งก่อนวันสัมภาษณ์จริงจะช่วยให้คุณสามารถเลือกคำตอบที่ดีที่สุดได้ค่ะ
คำถาม : คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง
แนวทางการตอบ : ทุกครั้งที่สมัครงาน เราจำเป็นที่จะต้องรู้และเข้าใจรายละเอียดที่สำคัญของบริษัทนั้นๆ เช่น ประวัติบริษัท ผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์องค์กร กลุ่มลูกค้า หากมีสิ่งที่เรารู้สึกประทับใจเกี่ยวกับบริษัทนั้นๆ ก็สามารถแสดงความชื่นชมได้อย่างเหมาะสม เพื่อแสดงให้บริษัทที่เราไปสัมภาษณ์เห็นว่าคุณมีความพร้อม และต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นอย่างแท้จริง
สำหรับข้อแนะนำเพิ่มเติมในฐานะ Consultant ของบริษัทจัดหางาน Pasona คือเรื่องของการรักษามารยาทในการสมัครงาน ควรมีความสำรวม ให้เกียรติผู้สัมภาษณ์ สบตาอย่างจริงใจ ไม่หลบสายตา แต่ไม่จ้องตาจนเกินงาม เป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส กระตือรือร้น เป็นผู้พูด และผู้ฟังที่ดี มีความมั่นใจในตัวเอง แต่ก็ยังคงความนอบน้อม หรือสรุปง่ายๆก็คือ เราควรเป็นตัวของตัวเองในแบบที่ดีที่สุดค่ะ
นอกจากนี้ หลังจากที่คุณได้เตรียมตัวในการสัมภาษณ์งานมาอย่างดีแล้ว แต่ดันมาเจอคำถามที่ไม่คาดคิดว่าจะถูกผู้สัมภาษณ์ถาม ก็เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน งั้นลองมาเตรียมพร้อมสำหรับคำถามแปลกๆกันบ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมให้เรารู้สึกมั่นใจยิ่งขึ้นด้วยค่ะ
ขอยกตัวอย่างคำถามแปลกๆ จากเว็บไซต์ JobThai.com/REACH ดังต่อไปนี้ค่ะ
ทำไมฝาท่อระบายน้ำต้องเป็นรูปวงกลม ?
ทั้งคำถาม “ทำไมฝาท่อระบายน้ำต้องเป็นวงกลม” และคำถามว่า “คุณจะเคลื่อนย้ายภูเขาไฟฟูจิได้อย่างไร” ต่างก็เคยปรากฏในเนื้อหาของหนังสือที่มีชื่อว่า “How Would You Move Mount Fuji? Microsoft’s Cult of the Puzzle: How the World’s Smartest Company Selects the Most Creative Thinkers” ซึ่งแค่ชื่อหนังสือก็พอจะบอกได้ว่าองค์กรไอทีระดับโลกอย่าง Microsoft นั้นมีกระบวนการสัมภาษณ์งานที่โหดหินเพียงใด เพราะพวกเขามักจะสอดแทรกคำถามเชิงตรรกศาสตร์และคำถามเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาลงไปในรายการคำถามสำหรับคัดเลือกผู้สมัครงานด้วย
เมื่อเจอคำถามแบบนี้ คุณต้องอธิบายเหตุผลให้ได้ว่าทำไมถึงคุณถึงตอบแบบนั้น เช่น การตอบคำถาม ว่า “ทำไมฝาท่อระบายน้ำต้องเป็นรูปวงกลม” อาจจะอธิบายว่าฝาที่เป็นวงกลมจะทำให้กรอบของท่อนั้นแข็งแรงเพราะมีการกระจายน้ำหนักเท่ากันโดยรอบ ซึ่งต่างจากฝารูปร่างอื่น ๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยม หรือฝาท่อแบบวงกลมไม่มีทางที่จะหล่นลงไปในท่อได้ ซึ่งฝาท่อรูปทรงสี่เหลี่ยมมีโอกาสจะตกลงไปได้หากถ้าฝาท่อสี่เหลี่ยมถูกพลิกด้านข้าง หรือคำตอบอะไรก็ได้ที่แสดงว่าคุณคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เชื่อมโยงและสนับสนุนกับคำตอบของคุณ
ถ้าคุณเป็นก้อนอิฐในกำแพง คุณอยากจะเป็นก้อนอิฐก้อนไหน และทำไม?
คำถามที่ว่า “ถ้าคุณเป็นก้อนอิฐในกำแพง คุณอยากจะเป็นก้อนอิฐก้อนไหนและทำไม” หรือคำถามว่า “หากคุณเลือกเป็นสัตว์ได้หนึ่งชนิด คุณอยากเป็นอะไรและทำไม” คำถามเหล่านี้มีไว้เพื่อให้คุณได้แสดงบุคลิกภาพของคุณ คำตอบของคุณจะบ่งบอกนิสัยและคุณสมบัติบางอย่าง
เมื่อคุณเจอคำถามประเภทนี้คุณต้องคิดให้รวดเร็วและรอบคอบ จากนั้นจึงตอบคำถามโดยอาศัยสิ่งที่คุณมีอยู่หรือสิ่งที่คุณได้ทำการบ้านล่วงหน้ามาก่อน เช่น ถ้าคุณเตรียมตัวตอบคำถามประเภทข้อดี–ข้อเสียของตัวคุณ คุณสามารถนำการตอบแบบนั้นมาผสมผสานกับการตอบคำถามประเภทนี้ได้ ถ้าจะตอบคำถามว่า “อยากเป็นอิฐก้อนไหน” คุณอาจจะตอบว่า “ฉันอยากจะเป็นอิฐก้อนแรกที่อยู่ที่ฐานล่างสุดของกำแพง เพราะฉันเป็นคนที่หนักแน่น คนอื่นไว้วางใจได้ ถ้าใครได้ทำงานด้วยก็มั่นใจได้เลยว่าฉันจะไม่ทำให้ผิดหวัง ฉันจะคอยเป็นฐานที่แข็งแกร่งคอยสนับสนุนคนอื่น ๆ ในทีมเอง”
อย่าลืมว่าท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าคำถามจะแปลกแค่ไหน คิด พิจารณาทุกอย่างให้ดีก่อนตอบคำถามนั้นออกไป เพราะทุกคำถามก็เป็นไปเพื่อการทดสอบความเหมาะสมของคุณกับตำแหน่งงานนั้น ๆ อยู่ดี
นอกจากนี้ทาง Pasona ยังมีคำถามสัมภาษณ์งานโดยรวบรวมจาก Consultant ชาวญี่ปุ่นมาฝากให้กับผู้สมัครงานที่สนใจสมัครงานกับบริษัทญี่ปุ่นอีกด้วยค่ะ หากคุณกำลังสนใจ หรือกำลังได้สัมภาษณ์กับบริษัทญี่ปุ่น เราขอแนะนำให้ลองฝึกตอบคำถามดังต่อไปนี้ค่ะ
- แนะนำตัวเองอะไรก็ได้ ภายในหนึ่ง หรือ สองนาที
- ทำไมถึงอยากร่วมงานกับเรา
- คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง
- จงบอกข้อดี ข้อเสียของคุณ
เทคนิค คือ ควรตอบข้อเสียที่มาพร้อมกับแผนการว่าจะพัฒนา หรือแก้ไขข้อเสียได้อย่างไร
- กิจกรรมที่เข้าร่วมในขณะเรียนมหาลัย หรือประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา เช่น จิตอาสา กีฬา หรือทำPart Time เพื่อดูประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร ว่าผู้สมัครมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นๆหรือไม่
- เนื้อหาข่าวที่ผู้สมัครสนใจ เช่น ข่าวการเมือง เศรษฐกิจ สำหรับตำแหน่งงานทั่วไป ว่าเป็นคนสนใจเหตุการณ์ รอบรู้หรือไม่ ผู้สมัครควรมีความรู้เกี่ยวกับข่าวการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อย่างใดอย่างหนึ่ง
- ระยะเวลาในการทำงาน เทคนิคการตอบคือ ควรมีความตั้งใจที่จะทำงานกับทางบริษัทมากกว่าห้าปี
- ในการสัมภาษณ์ครั้งสุดท้าย บริษัทอาจจะถามว่า บริษัทของเราเป็นที่ที่คุณให้ความสำคัญ หรืออยากร่วมงานเป็นอันดับแรกหรือไม่ ผู้สมัครไม่ควรตอบไปว่าสัมภาษณ์หลายที่ ควรมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมงานกับทางบริษัทจริงๆ
- มีคำถามอะไรอยากจะถามเรารึเปล่า เป็นคำถามเพื่อวัดว่าสนใจบริษัทเรา หรืองานนั้นจริงๆหรือไม่
จะเห็นได้ว่าคำถามที่สัมภาษณ์ในไทย กับญี่ปุ่นจะค่อนข้างคล้ายกัน มีจุดแตกต่างเพียงกันเล็กน้อย คือ เรื่องของความสนใจเกี่ยวกับข่าวสารบ้านเมือง เพื่อดูว่าเป็นคนสนใจสิ่งรอบตัว หรือพอมีความรู้รอบตัวบ้างหรือไม่ และเรื่องของระยะเวลาการทำงานที่ทางญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับความจงรักภักดีในองค์กร โดยคาดหวังให้พนักงานทำงานกับบริษัทไปนานๆ
แต่จะให้ฝึกตอบคำถามทั่วไปแบบนี้ ก็อาจจะธรรมดาไปหน่อย ทาง Pasona จึงได้นำแนวคำถามแปลกๆในการสัมภาษณ์งานจากทางญี่ปุ่นบางส่วนมาให้ผู้สมัครงานฝึกตอบคำถามกันด้วยค่ะ
- ให้พรีเซ็นท์ หรือหาวิธีเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของผู้สัมภาษณ์ เช่น เป็นคนไม่ชอบเขียนจดหมาย ทำอย่างไรให้ชอบเขียนจดหมาย หรือ ไม่ชอบดูหนัง จะนำเสนอยังไงให้ชอบดูหนัง
- มีรูปมาให้ เป็นวัสดุหนึ่งชิ้น แล้วถามว่า สิ่งนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง ให้บอกมา 10 ข้อ (คำถามในการสมัครบริษัทให้คำปรึกษา เป็นแบบ brainstorm เพื่อดูทักษะความคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงตรรกะ
- ให้ผู้สมัครงานเป็นผู้สัมภาษณ์คนของบริษัท หลังจากเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ ให้สลับบทบาทกัน เพื่อดูว่าผู้สมัครงานเตรียมความพร้อมมามากแค่ไหน
และอีกหนึ่งคำถามที่น่าสนใจในด้านกระบวนการคิดคำนวณ จากบริษัท Consulting ที่จะขอยกตัวอย่างมาจากเว็บไซต์ JobThai.com/REACH ค่ะ
- ในประเทศญี่ปุ่นมีร้านทำผมสตรีกี่ร้าน
คนสัมภาษณ์ต้องการเปิดโอกาสให้คุณได้แสดงทักษะและกระบวนการคิดของคุณ เมื่อคุณถูกถามแบบนี้ คุณต้องเรียบเรียงความคิดของคุณออกมาเป็นคำพูดให้ดี คุณอาจจะเริ่มด้วยการวิเคราะห์ เช่น เราต้องรู้จำนวนประชากรของประเทศญี่ปุ่นก่อน และเราต้องค้นหาว่าคนญี่ปุ่นทำผมคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของคนทั้งประเทศและพวกเขาทำผมบ่อยแค่ไหน
ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้สมัครมักจะตอบคำถามที่เหนือความคาดหมายไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับคำถามเหล่านี้มา เราจึงควรฝึกตอบคำถามที่มีความแปลก และไม่คาดคิดว่าจะถูกถามไว้ด้วย โดยเริ่มฝึกจากคำถามที่ทาง Pasona ได้ยกตัวอย่างมา และจากเว็บไซต์ต่างๆเพิ่มเติมได้ค่ะ เพื่อที่ว่าเราจะได้มีสกิลในการตอบคำถามเพิ่มขึ้น และไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
เมื่อเรารู้แนวทางการสัมภาษณ์งานแล้ว ก็อย่าชะล่าใจเชียวค่ะ รีบมาฝึกตอบคำถามเพื่อเตรียมความพร้อมในการสัมภาษณ์งานกันดีกว่า เพราะถ้าเราหมั่นฝึกฝนตัวเองจนมีความพร้อมแล้ว รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง เช่นเดียวกันกับการสมัครงานค่ะ ถ้าเราหมั่นฝึกตอบคำถามควบคู่ไปกับการฝึกฝนทักษะต่างๆอย่างสม่ำเสมอ สมัครงานกี่ครั้งก็ผ่านทุกครั้งแน่นอนค่ะ ทาง Pasona ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่กำลังจะได้สัมภาษณ์งานได้งานที่ตรงกับใจต้องการกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง

“ความโปร่งใสของเงินเดือน”ปัจจัยที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการทำงาน
“การจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกับงานที่ให้”—เงื่อนไขง่ายๆที่รู้กันอยู่แล้วในโลกของการทำงาน

“คุณคิดว่าในอีก 10 ปีคุณจะเป็นอย่างไร”อีกหนึ่งคำถามที่มักถูกถามในการสัมภาษณ์งาน
ในการเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน สิ่งสำคัญก็คือการเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่มักถูกถามในห้องสัมภาษณ์ คำถามหนึ่งที่เห็นได้บ่อยครั้งก็คือ “คุณคิดว่าในอีก 10 ปีคุณจะเป็นอย่างไร”

ตอบอย่างไรให้ดูดี กับคำถามสัมภาษณ์”เงินเดือนที่คุณคาดหวัง”
เพื่อหางานที่มีลักษณะและเงินเดือนที่เหมาะสมกับความต้องการ การต่อรองเงินเดือนมักไม่ได้เกิดขึ้นในขั้นตอนที่บริษัทตัดสินใจจ้างงาน มักเกิดขึ้นในหลายๆขั้นตอนก่อนหน้านั้น
สอบถามเพิ่มเติม
เกี่ยวกับบริการของเรา