10 เทคนิครับมือและอยู่อย่างเข้าใจกับงานใหม่ที่เริ่มทำแล้วไม่ชอบ
เมื่อเริ่มทำงานไปได้ซักพักนึง เราจะเริ่มรู้สึกว่างานที่ทำอยู่นั้นใช่สำหรับตัวเราหรือไม่ ก่อนที่จะคิดหางานใหม่ การประเมินก่อนหาและสมัครงานใหม่ เป็นโอกาสที่ดีที่จะประเมินตัวเองก่อนตัดสินใจลาออกว่าเพราะเหตุใดจึงไม่ชอบงานที่ทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเพราะตัวเนื้อหางานหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
10 เทคนิคที่ควรทำเมื่อรู้สึกว่าไม่ชอบงานที่กำลังทำอยู่ ก่อนเริ่มต้นหางานใหม่และลาออก
-
ระบุให้ได้ว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกไม่ชอบในงาน
สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกเลยก็คือ ระบุและรู้ตัวให้ได้ว่าอะไรที่ทำให้คุณไม่มีความสุขในการทำงาน เมื่อเริ่มงาน ใหม่ไปได้ซักพัก เป็นปกติที่จะรู้สึกกังวลและไม่มั่นคง แต่ความรู้สึกเหล่านั้นจะค่อยๆหายไปเมื่อคุณเริ่มทำงานไปได้ซักพักและเริ่มมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
อย่างไรก็ตามก็มีความเป็นไปได้ที่งานใหม่ที่พึ่งเริ่มทำไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ สิ่งที่ควรเริ่มต้นทำก็คือ ระบุให้ได้ว่าเพราะอะไรจึงทำให้คุณรู้สึกไม่ชอบในงานใหม่นี้ เพื่อให้คุณสามารถประเมินได้ว่าควรอดทนทำต่อไปหรือหางานใหม่
-
ประเมินความเป็นไปได้ที่สถานการณ์จะเปลี่ยน
หลังจากที่ระบุได้แล้วว่าเพราะอะไรจึงไม่ชอบงานที่ทำอยู่ ลำดับต่อไปก็คือตัดสินใจว่าปัญหาที่ระบุได้นั้นเป็นเพียงปัญหาชั่วคราวหรือถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น สาเหตุที่คุณไม่ชอบงาน คือไม่มั่นใจในหน้าที่ของงานที่ทำ หรือ เพราะทำโปรเจคโครงการที่ไม่สนุก
ตัวอย่างของปัญหาทั้งสองนี้เป็นเพียงชั่วคราว หากคุณยังทำงานอยู่ต่อ คุณจะรู้สึกมั่นใจและสนุกกับงานมากยิ่งขึ้น หากปัญหาที่หนักใจคือการทำงานในโครงการใดโครงการหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป โครงการที่ไม่ชอบก็จะจบและได้ย้ายไปทำโครงการใหม่ที่อาจจะสนุกมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากคุณสมัครงานในตำแหน่งพนักงานขาย แต่ไม่สนุกกับการขายและการคุยกับลูกค้า อันนี้อาจจะแปลว่าคุณไม่เหมาะกับงานก็เป็นได้
-
ขอคำปรึกษากับหัวหน้า
หากปัญหาที่เกิดขึ้นที่เป็นสาเหตุในการไม่ชอบงานนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ได้อยู่เพียงชั่วคราว ขอแนะนำให้ลองเปิดใจพูดคุยขอคำปรึกษากับหัวหน้าของคุณเพื่อร่วมกันหาทางแก้ไข
การจ้างและอบรมพนักงานใหม่เป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูงสำหรับบริษัท ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่บริษัทจะพยายามรักษาพนักงานที่ได้รับมาไว้ให้ได้นานที่สุด ดังนั้นการพูดคุยกันแบบตรงๆในสิ่งที่คุณรู้สึกไม่มีความสุขกับการทำงาน จะทำให้สามารถหาทางออกร่วมกันได้มากกว่าการเก็บไว้คนเดียว และหากเป็นไปได้คุณสามารถนำเสนอหรือทางแก้ไขที่คุณรู้สึกว่าจะทำให้คุณสามารถใช้ความสนใจและทักษะได้ดีขึ้นอย่างมีความสุข
-
มองในสิ่งที่คุณจะได้รับจากการทำงานตำแหน่งนี้ที่หาจากที่อื่นไม่ได้
ถึงแม้คุณจะเริ่มไม่ชอบในงานที่ทำอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ค่อยๆใช้เวลาพิจารณาถึงสิ่งที่คุณคิดว่าจะได้รับจากการทำงานนี้ต่อไป ยกตัวอย่างเช่น หากทำงานไปเรื่อยๆติดต่อกันซักหกเดือนหรือหนึ่งปี จะมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่ง ได้รับโปรโมท หรือได้รับเงินโบนัสจากบริษัท
นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาประโยชน์ของการทำงานที่คุณไม่ได้ชอบแต่มีมุมที่ไม่เหมือนกับที่อื่นได้ อาทิ ได้ทำงานที่บ้าน ได้ใช้เวลากับครอบครัว หรือแง่มุมอื่นๆที่คุณสามารถได้รับจากที่นี่ก่อนที่จะตัดสินใจลาออก
-
ให้เวลากับตัวเองในการคิด
บางครั้งพนักงานจะรู้สึกไม่ชอบในงานเมื่อได้เจอกับปัญหาที่สุดแสนจะหนักหนาจนรู้สึกว่าไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองหรือไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเวลาอันสั้นไม่ทันการณ์ หรือยังไม่ได้ทำความรู้จักเพื่อนร่วมงานที่สามารถช่วยเหลือได้ดีพอ ลองสร้างตารางลำดับเวลาสำหรับตัวเองที่คุณสามารถจัดลำดับการพัฒนาความสามารถและเรียนรู้ในตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากตารางลำดับเวลาที่ได้สร้างไว้ ลองพูดคุยค้นหาผู้ให้คำแนะนำ เปิดโอกาสตัวเองให้ได้พบกับหัวหน้างานอย่างสม่ำเสมอ และพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณได้รู้จักงานมากยิ่งขึ้น และเมื่อถึงช่วงท้ายของตารางลำดับเวลาที่ได้ตั้งไว้ ประเมินตัวเองอีกหนึ่งครั้งว่าคุณยังรู้สึกไม่ชอบในเนื้อหางาน ในตำแหน่ง หรือไม่ แม้แต่พิจารณาว่าคุณจะอยู่ต่อหรือลาออก
-
พิจารณาโอกาสในการพัฒนาตัวเองไปสู่ระดับมืออาชีพ
หากคุณตัดสินใจอยู่ต่อ ลองค้นหาหนทางในการพัฒนาตัวเองไปสู่ระดับมืออาชีพที่สามารถหาได้นอกเวลางาน อาทิ เข้าร่วมในงานอบรม งานสัมมนา คอร์สออนไลน์ที่ได้รับประกาศนียบัตรหลังการอบรมที่จะนำพาให้คุณเติบโตในหน้าที่การงานได้รวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะในบริษัทเดิมหรือในบริษัทใหม่ นอกจากจะได้รับทักษะใหม่ๆแล้ว คุณยังอาจได้รับการติดต่อเพื่อรับโอกาสที่ดีขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย
-
โอกาสในการสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่างๆ
หากคุณกำลังลังเลว่าจะอยู่กับงานที่ยังไม่ชอบต่อไปดีหรือไม่ อีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยคุณได้นั่นก็คือ การเข้าร่วมในเครือข่ายกับทีมอื่นๆ
หากคุณรักบริษัทแต่ไม่สนุกกับการทำงาน เป็นไปได้ว่าอาจจะมีโอกาสในฝ่ายอื่นๆที่คุณสามารถโยกย้ายไปทำได้ คุณสามารถเริ่มต้นด้วยการพูดคุยจากฝ่ายหรือจากแผนกอื่นๆว่ามีลักษณะงานอย่างไรและมีโอกาสที่จะรับการโยกย้ายภายในหรือไม่ การสร้างเครือข่ายคนรู้จักเป็นวิธีการที่ดีทางหนึ่งในการตัดสินใจว่าจะอยู่ในลักษณะงานเดิมหรือก้าวไปสู่หน้าที่ที่แตกต่างออกไป
-
เข้าใจความเสี่ยงหากลาออกไป
ก่อนที่จะตัดสินใจลาออกหรือย้ายงาน จะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะหากคุณลาออกไป มันจะส่งผลกระทบต่อประวัติการทำงานของคุณในทันที ถึงแม้บริษัทสมัยใหม่จะเข้าใจว่าการเปลี่ยนงานของผู้สมัครหางานเป็นไปเพราะรู้สึกความสามารถไม่เข้ากับเนื้อหางาน แต่หากมีการเปลี่ยนงานที่ถี่หรือระยะสั้นเกินไป จะมีผลต่อความน่าเชื่อถือของคุณเป็นอย่างมาก
-
อัพเดทโปรไฟล์ ข้อมูลส่วนตัว และ ใบสมัครงาน
เป็นความคิดที่ดีถ้าคุณยังรักและสนใจในตำแหน่งงานที่ทำอยู่ หากคุณเริ่มอัพเดทโปรไฟล์ ข้อมูลส่วนตัวและใบสมัครงานเกี่ยวกับตำแหน่งงานล่าสุด(ก่อนที่งานใหม่) รวมทั้งความสำเร็จที่เคยได้รับ จะทำให้ง่ายขึ้นในการได้รับโอกาสจากผู้ที่สนใจในตัวคุณหากตัดสินใจหางานใหม่ในทันที
-
พิจารณาขั้นตอนต่อไปอย่างระมัดระวัง
อีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญในการสร้างตารางลำดับเวลาให้กับตัวเองก็คือจะทำให้คุณสามารถวางแผนชีวิตได้อย่างรอบคอบและระมัดระวังมากยิ่งขึ้น คุณคงไม่อยากลาออกจากงานโดยไม่ได้วางแผนเอาไว้อย่างเป็นขั้นตอนหรอกจริงมั้ย
นอกจากนี้เราก็ขอแนะนำ 3 เทคนิคเล็กๆในการรับมือกับงานที่ไม่ชอบ
1.ขอความช่วยเหลือ (พูดคุยกับคนที่คุณเชื่อใจถึงสิ่งที่คุณรู้สึก เพราะอาจได้รับคำแนะนำดีๆได้อย่างคาดไม่ถึง)
2.ซื่อสัตย์กับตัวเอง (เชื่อในสัญชาตญาณของตัวเอง และ พยายามไม่ปล่อยผ่านในสิ่งที่กำลังกังวลอยู่)
3.ใจดีกับตัวเองบ้าง (ไม่โทษตัวเอง และพยายามนำประสบการณ์ที่ผ่านมาเพื่อช่วยตัดสินใจในสิ่งที่ควรทำต่อไป)
ท่านใดที่กำลังหางานที่สามารถแสดงศักยภาพของตัวเองให้ได้มากที่สุดในบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย ทาง PASONA ก็ยินดีเป็นอีกกำลังสำคัญในการสนับสนุนช่วยให้ท่านหางานที่ใช่ได้โดยเร็วนะครับ
………………………………………………………
สามารถติดตามข่าวสาร ตำแหน่งงานจากบริษัทญี่ปุ่นทั่วประเทศ และงานอบรมออนไลน์ได้ในเฟสบุ๊ค PASONA ที่นี่ได้เลย
FREE Registration : สามารถลงทะเบียนข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหางานและฝากใบสมัครโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่
>>> https://pasona.co.th/registration-form/ <<<
………………………………………………………
หางานที่ใช่ ได้งานที่ชอบ ต่อยอดความฝัน ไปให้ถึงเป้าหมาย กับ PASONA
☎️ Contact: Career Consultant
Phone: 02-108-1250
Email: info@pasona.co.th
#หางาน #สมัครงาน #หางานกทม. #หางานทำ #หางานบริษัทญี่ปุ่น #ฝากประวัติ #ค้นหางาน #PASONA #เบื่องาน #หมดไฟ #หมดไฟในการทำงาน #หมดไฟ #burnout #ลาออก #อยากลาออก #เบื่องาน #หางานใกล้ฉัก #งานหยุดเสาร์อาทิตย์ #งานออฟฟิศ #พนักงานออฟฟิศ #งานดีมีเงินเดือน